ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี ที่ OECD และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนนโยบายสาธารณะระหว่างกัน ในสาขาต่าง ๆ อาทิ การลงทุน การจัดเก็บภาษี การศึกษาและนวัตกรรม ความร่วมมือเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการตัดสินใจของ OECD ในปี 2567 เพื่อเริ่มกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของอินโดนีเซียและไทย
ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาค
การประชุมระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2568 นี้ จะเป็นการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนิน
ความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่าง OECD กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในการส่งเสริมการดำเนินการเข้าร่วม
เป็นสมาชิก OECD และรูปแบบการดำเนินความร่วมมือที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับภูมิภาค
การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยการกล่าวเปิดการประชุมโดย เลขาธิการ OECD นายมาธิอัส คอร์มันน์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รวมถึงการเสวนาเกี่ยวกับการเข้าร่วม
เป็นสมาชิก OECD ของอินโดนีเซียและไทย สามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ https://www.youtube.com/live/SE5KLIU0H4U
รายงานการวิจัยเกี่ยวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับล่าสุดของ OECD บางส่วน ได้แก่:
- การระดมเงินทุนสำหรับเมืองที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การใช้เครื่องมือหลากรูปแบบและการใช้ประโยชน์จากการลงุทนภาคเอกชน
- การปฏิรูปกฎระเบียบในประเทศไทย: การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่มีประสิทธิผล
รายงานที่กำลังจะได้รับการเผยแพร่เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ ได้แก่:
- รายงานพิชญพิจารณ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในเรื่องกฎหมาย และนโยบายการแข่งขัน: ประเทศไทย ปี 2568 (OECD Peer Reviews of Competition Law and Policy: Thailand 2025) (2 พฤษภาคม)
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้สูงวัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (7 พฤษภาคม)
- การเริ่มต้นธุรกิจในเอเชีย: การบุกเบิกแสวงหานวัตกรรมใหม่ (21 2 พฤษภาคม)
ผู้สื่อข่าวสามารถขอรับข้อมูลภายใต้ข้อกำหนดของ OECD ได้ทางอีเมลที่ embargo@oecd.org โดยข้อมูลดังกล่าวจะจัด
ส่งให้ล่วงหน้าภายในหนึ่งวัน
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ยูมิโกะ ซึกะยะ (Yumiko Sugaya) หรือ สำนักงานสื่อกลาง (OECD Media Office) (+33 1 45 24 97 00) หากต้องการได้รับการแจ้งล่วงหน้าเรื่องรายงานหรือการจัดงานอื่น ๆ กรุณากรอก ฉบับย่อ (short form) นี้
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ดำเนินความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศ
ทั่วโลก และเป็นเวทีอภิปรายสากลที่มุ่งเน้นการพัฒนานโยบาย เพื่อการดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพของปัจเจกชน ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนทั่วโลก